ยินดีต้อนรับจ้า

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นู๋ปริ้ม.....จิราภรณ์ ดาวทอง

Photo Me สไลด์โชว์

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงาน เรื่อง การจัดระบบการเรียนการสอน จ้า....

ความหมายของระบบระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วยสรุป ได้ว่า ระบบจะต้องมี1. องค์ประกอบ2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์องค์ประกอบของระบบและวิธีระบบ ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไปซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach) ดังแผนภาพข้างล่างนี้รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSUREการใช้รูปแบบการสอน แบบ ASSURE เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้นและความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอน สามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมS = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENTการกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียน ควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษวาด หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน เป็นต้น3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่นระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไปS = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว3) การออกแบบสื่อใหม่U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุดR = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอ เช่น การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นE = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน2) การประเมินสื่อและวิธีใช้3) การประเมินกระบวนการเรียนการสอน

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความดีๆๆ

15 วิธีแก้ "เบื่อ" ก่อนปล่อยให้ปัญหาเรื้อรังทำลายสุขภาพ
เริ่มต้นการทำงานกับเช้าวันจันทร์กันอีกแล้ว หลาย ๆ คนอาจยังไม่พร้อมสำหรับการลุกขึ้นสู้ในวันนี้ รวมถึงอาจมีอาการเบื่อหน่าย อยากนอนพักต่ออีกสักงีบ หรืออีกสักวัน แต่อย่าปล่อยให้ความเบื่อทำร้ายสุขภาพค่ะ เพราะมีการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญจาก University College London ระบุว่า การที่คนเราปล่อยให้ชีวิตน่าเบื่อหน่าย ไม่มีไฟในการทำสิ่งต่าง ๆ นั้นจะดึงคุณให้หันไปหาพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพตัวเองได้ในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เสพยาเสพติด หรือมีปัญหาด้านพฤติกรรม - การเข้าสังคม ที่เลวร้ายกว่านั้นคือ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณเสียชีวิตได้ตั้งแต่อายุยังน้อยอีกด้วย

ที่น่าแปลกใจก็คือ ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามที่ตอบโดยกลุ่มอาสาสมัครอายุระหว่าง 35 - 55 ปีจำนวน 7,000 คนในช่วงปี ค.ศ. 1985 - 1988 นั้นพบว่า กลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มที่มีอาการเบื่อหน่ายในชีวิตสูงสุด

อย่างไรก็ดี มีแนวทางที่ช่วยลดอาการเบื่อลงได้ ซึ่งทางเว็บไซต์ zenhabits.net ได้รวบรวมเอาไว้ 15 ข้อดังนี้

1. หาความท้าทายใหม่ ๆ ให้ชีวิต หลายครั้งที่คนเราเกิดความรู้สึกเบื่อเป็นเพราะชีวิตไม่ได้พบกับความท้าทายใด ๆ เลย มีแต่งานรูทีนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คงจะดีหากคุณตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ ให้กับของชีวิตให้ตัวเอง และพยายามพิชิตมันให้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่สำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อย ชีวิตคุณก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว

2. มองหางานใหม่ หากวิเคราะห์แล้วว่าสิ่งที่ทำให้คุณเบื่อก็คืองานที่ทำ คุณอาจจำเป็นต้องคิดถึงการโยกย้ายเอาไว้บ้าง ซึ่งคำแนะนำของทางเว็บไซต์ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องยื่นใบลาออกทันที แต่ให้ลองทำลิสต์รายชื่อของบริษัทที่น่าสนใจ-งานที่คุณคิดว่าจะไม่ทำให้คุณเบื่อ อัปเดตประวัติการทำงาน และลองส่งออกไปก่อนดีกว่าออกมาเดินเตะฝุ่นเล่น ๆ

3. ตั้งเป้าหมายของชีวิต และจดออกมาเป็นข้อ ๆ ถึงสิ่งที่คุณต้องการจะทำให้สำเร็จให้ได้ก่อนที่คุณจะจากโลกนี้ไป ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับงานอย่างเดียว เป็นเรื่องของทัศนคติ มุมมอง หรือความต้องการใด ๆ ก็ได้ แต่หากเคยทำเอาไว้แล้ว ก็ลองหยิบมันขึ้นมาอ่านใหม่อีกสักครั้ง หรือเลือกเป้าหมายชีวิตสักข้อขึ้นมาทำให้สำเร็จในปีนี้

4. เคลียร์โต๊ะทำงาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ให้กับชีวิต และได้ย้ายของที่ไม่จำเป็นออกไปเสียบ้าง หรืออาจใช้เวลานี้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ลองคิดหาวิธีที่จะช่วยให้งานเสร็จเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยลง

5. หางานอดิเรกที่ชื่นชอบมาทำ เช่น หาเวลาว่างอ่านหนังสือ เขียนบล็อก เล่นเกม เพื่อหาอะไรใหม่ ๆ ให้กับชีวิต แต่อย่าให้เบียดบังเวลางานจนกระทั่งถูกเพ่งเล็งจากคนรอบข้าง ควรใช้เวลาว่างก่อนหรือหลังเลิกงานทำงานอดิเรกเหล่านี้จะดีกว่า

6. สมัครคอร์สเรียนพิเศษหาความรู้ให้ตัวเอง ไม่จำเป็นว่าต้องเรียนในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานเสมอไป อาจเป็นการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มในวันเสาร์ - อาทิตย์ เรียนทำอาหาร เรียนศิลปะ เรียนคอมพิวเตอร์ หรืออะไรก็ได้ที่คุณสนใจ

7. ลาพักผ่อน เขียนใบลาพักร้อนสัก 1 - 2 วัน หนีความเบื่อหน่ายซ้ำซากในชีวิตก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้

8. เดินยืดเส้นยืดสาย

9. ดื่มน้ำเยอะ ๆ

10. โทรศัพท์ - เขียนจดหมายหาคนที่คุณรัก

11. จัดการไฟล์บนคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ

12. เช็คเมลให้หมด หลายคนมีเมลค้างอยู่นับสิบนับร้อยฉบับ ไม่มีเวลาเช็ค ช่วงที่เบื่อ ๆ การเข้าไปเช็คเมลให้หมด ก็อาจได้ข้อมูล - แนวคิดดี ๆ จากเมลเหล่านั้นติดกลับมือออกมาบ้าง

13. วางแผนการเงิน หรือเปลี่ยนวิธีใช้เงินของตัวเอง จากที่เคยใช้หมดไม่เคยเหลือเก็บ ก็ลองมองหารูปแบบการเก็บเงินเหมาะ ๆ ให้กับตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์-อินเทอร์เน็ต ในการช่วยบริหารจัดการรายได้ที่มีให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้นได้ด้วย (อย่างไรก็ดี ควรระวังการป้อนข้อมูลบางชนิดลงไปด้วย เช่น เลขบัตรเครดิต หมายเลขบัญชีธนาคาร ฯลฯ เพราะหากมีการรั่วไหลของข้อมูลแล้ว อาจกลายเป็นความสูญเสียทางการเงินได้)

14. อยู่ห่างจากคนหรือสถานการณ์ที่ทำให้เบื่อ แม้ว่าในชีวิตจริง คนเราจะไม่สามารถหลีกหนีคน-สถานการณ์ที่น่าเบื่อไปได้ แต่การไม่นำสิ่งเหล่านั้นมาคิดต่อก็เป็นการสร้างปราการขึึ้นในจิตใจและช่วยให้คุณมีแรงใจในการทำงานมากขึ้น

15. เป็นอาสาสมัครช่วยเหลือคนอื่น เช่น ทำงานเป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาล หรือช่วยเลี้ยงเด็กอ่อน ช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้เว็บบล็อก(weblog)

รายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
อาจารย์ สุจิตตรา  จันทร์ลอย
นางสาวจิราภรณ์  ดาวทอง รหัส 537190046
นักศึกษาป.บัณฑิต รุ่น 13 หมู่ 1
ปีการศึกษาที่ 2/2553